top of page

การยกเสาเอก เรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มปลูกบ้าน

อัปเดตเมื่อ 16 ก.ย. 2565

คนไทยนั้นมีความเชื่อว่า หากเริ่มต้นอย่างเป็นมงคลแล้ว ทุกสิ่งที่ตามมาย่อมมีแต่สิ่งดี ๆ เช่นเดียวกับการยกเสาเอกบ้าน ซึ่งเชื่อว่าการยกเสาเอกบ้านเป็นการนำเสาหลักของบ้านตามเวลาฤกษ์งามยามดี ซึ่งหากทำการยกเสาเอกถูกวัน ถูกวิธีแล้ว จะทำให้บ้านสามารถอยู่อาศัยได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข

ดังนั้นความสำคัญของการยกเสาเอกกับคนไทย จึงกลายเป็นธรรมเนียมที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้างบ้านใหม่ โดยบ้านดี รับสร้างบ้านของเราก็จะพามาดูขั้นตอนในการยกเสาเอกว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ที่ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กันค่ะ



การยกเสาเอกบ้านคืออะไร

เสาเอกบ้านนั้นก็นับเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญของอาคารมากทีเดียว เนื่องจากเสาเอกบ้าน คือเสาที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของอาคาร เพื่อให้โครงสร้างบ้านมีความแข็งแรง โดยแต่เดิมในอดีต วัสดุที่ใช้สร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นไม้ เสาเอกบ้านจึงต้องเป็นเสาไม้ด้วยเช่นกัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เสาเอกบ้านจึงมีการเปลี่ยนมาเป็นคอนกรีต ตามวัสดุที่ใช้สร้างบ้านในปัจจุบัน

นอกจากนั้นในด้านความเชื่อแล้ว การยกเสาเอกบ้านยังเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง เนื่องจากเสาเอกบ้าน เป็นการแทนสัญลักษณ์ของผู้ชายที่ความเป็นผู้นำ มีความแข็งแรง เปรียบเสมือนพ่อซึ่งเป็นช้างเท้าหน้าของบ้าน เพื่อปกป้องและดูแลครอบครัวและคนในบ้านให้อยู่ดีเป็นสุขนั่นเอง

แน่นอนว่าการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆเอาไว้ก่อนถึงฤกษ์ที่ว่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบที่จะทำพิธี นับตั้งแต่ ปรับพื้นที่ก้นหลุม เก็บเศษปูนเศษไม้ให้เรียบร้อย เพื่อให้ได้ทำพิธีการอย่างสะดวก คล่องตัว ได้ตรงกับฤกษ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับการยกเสาเอกบ้านนั้นมีดังนี้


หาฤกษ์งามยามดี ในการลงเสาเอกบ้าน

ซึ่งฤกษ์งามยามดีส่วนใหญ่แล้วจะนิยมปลูกบ้านกันในเดือนแรกของปี เดือนที่สองของปี เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า และเดือนสิบสอง ตามการนับเดือนแบบไทยหรือแบบจันทรคติ ส่วนวันที่ก็ให้เลือกจากวันอธิบดีหรือวันธงชัยของแต่ละเดือน ซึ่งปกติแล้วจะนิยมตั้งเสาเอกในวันจันทร์ และไม่นิยมตั้งเสาเอกในวันอาทิตย์ ส่วนทิศหรือตำแหน่งยอดนิยมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้

แต่ถ้าหากใครไม่แน่ใจอาจจะขอให้พระหรือหมอดูช่วยเลือกให้ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะใช้เพียงวัน เดือน ปีเกิดของเจ้าของบ้านในการหาวัน เวลา และตำแหน่งของเสาเอกที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งหากเจ้าของบ้านไม่มีดวงก็อาจจะรอไปอีกสักปีสองปี นอกเหนือจากนี้ฤกษ์งามยามดีในแต่ละวันก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเหมือนกัน โดยเชื่อกันว่าฤกษ์มงคลในการตั้งเสาเอกของแต่ละวัน มีดังนี้

  • ถ้าปลูกเรือนวันอาทิตย์ ถือเอาเสียงไก่เป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันจันทร์ ถือเอาเสียงผู้หญิงเป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันอังคาร ถือเอาเสียงม้าเป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันพุธ ถือเอาเสียงสังข์เป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันพฤหัสบดี ถือเอาเสียงถาดเป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันศุกร์ ถือเอาเสียงฆ้องเป็นฤกษ์

  • ถ้าปลูกเรือนวันเสาร์ ถือเอาเสียงคนแก่เป็นฤกษ์



จัดเตรียมหาของมงคล

  • จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)

  • จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุมและเจริญชัยมงคลคาถา)

  • เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)

  • สายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก

  • ผ้าสามสี ผ้าแพรสีแดง ผ้าห่มเสา ผ้าหัวเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน ขนาด 4x6 นิ้ว

  • แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น

  • เหรียญทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ

  • ทองคำเปลว 3 แผ่น

  • หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ

  • ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน

  • น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)

  • ทรายเสก 1 ขัน

  • แป้งหอม

  • ไม้มงคล 9 ชนิด (ไม้ราชพฤกษ์, ไม้ขนุน, ไม้ชัยพฤกษ์, ไม้ทองหลาง, ไม้ไผ่สีสุก, ไม้ทรงบาดาล, ไม้สัก, ไม้พะยูง, ไม้กันเกรา)



ลำดับพิธีตั้งเสาเอก

ทั้งนี้สำหรับการทำพิธีตั้งเสาเอกนั้น ประกอบด้วยลำดับพิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. นำหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสามสี ผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในพิธีตั้งเสาเอก (ควรผูกให้เรียบร้อยก่อนถึงวัน ตั้งเสาเอก)

  2. สำหรับบ้านไหนที่ไม่เชิญพราหมณ์หรือพระมาช่วยทำพิธี ก็สามารถให้ญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าของบ้านเป็นคนทำพิธีเองได้ (ผู้อยู่อาศัยทุกคนควรมาร่วมพิธีให้ครบ) โดยเริ่มแรกให้วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาไปจนถึงเสาเอก

  3. เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐาน และกราบพระ เจ้าภาพจุดธูปที่โต๊ะสังเวยบูชาเทวดา ให้ช่วยคุ้มครอง

  4. ตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก

  5. วางแผ่นทอง แผ่นนาก แผ่นเงิน และเหรียญเงินล งไปในหลุม

  6. นิมนต์พระสงฆ์มาพรมน้ำมนต์และโปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก พร้อมเจิมและปิดทองที่เสาเอกที่ผูกผ้าสามสี หน่อกล้วย และอ้อย เอาไว้

  7. เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีถือสายสิญจน์และยกเสาเอกให้เรียบร้อย

  8. เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกหรือแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก



พิธีตั้งเสาเอกเปรียบเสมือนการเสริมสิริมงคลให้กับบ้าน อีกทั้งยังเป็นการขอขมาต่อเจ้าที่ เจ้าทาง ตามความเชื่อของคนโบราณด้วย ฉะนั้นถ้าหากใครมีแผนจะปลูกบ้าน สร้างบ้าน ก็อย่าลืมนำลำดับพิธีตั้งเสาเอกแบบง่าย ๆ ที่เรารวบรวมมาฝากไปปรับใช้ให้เหมาะสมกันนะคะ

และสำหรับใครที่กำลังสนใจในการสร้างบ้าน บ้านดี รับสร้างบ้านของเราก็ขอเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ที่ดำเนินงานก่อสร้างเพื่อส่งมอบบ้านที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าทุกท่านมากกว่า 10 ปี ทั้งนี้เรามีแบบบ้านให้ทุกคนเลือกมากกว่า 160 แบบ หลากหลายสไตล์ และที่สำคัญแบบบ้านของเรานั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยวิศวกร​และสถาปนิกที่มากประสบการณ์ จึงมั่นในใจได้ว่าทุกคนจะได้แบบบ้านที่สวยครบ ตามความต้องการแน่นอนค่ะ สำหรับใครที่สนใจสร้างบ้าน สามารถเปิดใจและเข้ามาปรึกษากับเราได้เลยนะคะ


ทุกขนาดของความฝัน เกิดขึ้นได้ที่นี่

บ้านดี รับสร้างบ้าน


พบกับ บ้านดี รับสร้างบ้าน ผ่านช่องทางออนไลน์

Instragram : bandeehome

Line : @bdahome

Yorumlar


bottom of page