top of page

รู้จักงานบันไดที่ได้มาตรฐาน และไอเดียงานบันไดที่ต้องตกหลุมรัก


“บันได” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านที่มีหน้าที่รองรับการสัญจรและเชื่อมต่อระหว่างชั้นต่าง ๆ ของบ้านเข้าด้วยกัน ซึ่งในปีหนึ่ง ๆ เราจะพบว่ามีอัตราผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากการพลัดตก ลื่นไถลจากบันไดไม่น้อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุหนึ่งมาจากการออกแบบที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์หรือกายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความชัน ความกว้าง หรือระยะก้าวที่ไม่เหมาะสม ก็อาจก่ออันตรายขณะใช้งานได้ทั้งสิ้น วันนี้เราก็นำทุกคนมารู้จักกับงานบันไดที่ได้มาตราฐาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่ทำให้บันไดไม่ใช่แค่สวยแต่ต้องทนและปลอดภัยจะมีอะไรบ้างไปชมกันค่ะ

รู้จักโครงสร้างงานบันได เมื่อถึงเวลาสร้างบันได หลาย ๆ ท่านอาจยังสับสนว่าควรเลือกบันไดบ้านแบบไหนดี? ปัจจัยแรกที่เจ้าของบ้านควรพิจารณา ได้แก่ โครงสร้างของบันไดบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่ บันไดโครงสร้างไม้ บันไดโครงสร้างเหล็ก และบันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งโครงสร้างทั้ง 3 ก็มีข้อดี และข้อสังเกตุที่แตกต่างกัน บางโครงสร้างก็ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันที่มีข้อจำกัดและอายุการใช้งานที่ไม่มากนัก

แต่ในปัจจุบันบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นยังคงได้รับความนิยม และถูกเลือกใช้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่ เป็นการใช้วัสดุ 2 ชนิด คือ คอนกรีตและเหล็กมาทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทก ส่วนใหญ่มักเป็นบันไดทึบ สามารถใช้วัสดุปิดผิวได้หลากหลาย อาทิ ไม้ กระเบื้อง หินธรรมชาติ หรือจะโชว์ผิวคอนกรีตเปลือยก็ได้เช่นกัน บันไดคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีความแข็งแรง แน่น ดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดี จึงไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน และไม่ต้องการการบำรุงรักษามากนั้นเองค่ะ


รู้จักปัจจัยที่ทำให้งานบันไดได้มาตรฐาน ขนาดของบันได

ขนาดของบันไดสามารถแบ่งออกได้หลายแบบ โดยทั่วไปจะมีการวัด 3 ส่วนหลักคือลูกตั้ง ลูกนอน และความกว้างของบันได

· ลูกตั้ง (Riser)

คือส่วนที่เป็นความสูงของขั้นบันไดแต่ละขั้น มักมีความสูงประมาณ 15-20 ซม.เพื่อการก้าวที่ไม่ยากเย็นจนเกินไปนัก โดยลูกตั้งจำเป็นจะต้องมีความเท่ากันในทุกขั้นเสมอ บันไดบางประเภทเช่นบันไดไม้และเหล็กพื้นไม้อาจไม่มีลูกตั้งเพื่อความโปร่งโล่งของดีไซน์

· ลูกนอน (Thread)

คือส่วนพื้นของขั้นบันไดที่ยกขึ้นมา จะมีความลึกประมาณ 25-30 ซม. และมีความเท่ากันในทุกๆ ขั้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถก้าวได้เต็มเท้าและป้องกันอุบัติเหตุ ลูกนอนมักมีจมูกบันไดเพื่อกันลื่นและเพิ่มพื้นที่ในการใช้งาน

· ความกว้าง

ความกว้างของบันไดถูกระบุไว้ในตัวบทกฎหมายอยู่แล้วว่าควรมีอย่างน้อย 80 เซนติเมตร ทว่าในด้านการใช้งานจริงความกว้างของบันไดควรอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดินสามารถเดินสวนไปมากันได้ ความกว้างของบันไดยังเกี่ยวข้องกับการใช้งาน เช่น ขนเฟอร์นิเจอร์ ให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาด้านร่างกายในบ้านขึ้นลงได้อย่างสะดวกอีกด้วย

จมูกบันได

จมูกบันได คือ ส่วนที่ยื่นออกมาจากปลายของลูกนอน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการก้าวขึ้น-ลงบันไดแต่ละขั้นมากขึ้น โดยส่วนมากในส่วนจมูกบันไดจะมีการเซาะร่อง วางวัสดุกันลื่น ไปจนถึงติดวัสดุเรืองแสงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานทั้งกลางวัน

แสงสว่างที่เพียงพอ

บันไดสามารถอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของบ้านได้อย่างหลากหลาย ตามแต่แนวทางการจัดวางและออกแบบ แต่ก็ต้องคำนึงถึงแสงสว่างที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเดินขึ้น-ลงบันไดด้วย โดยสามารถเป็นได้ทั้งแสงจากโคมไฟ หรือแสงธรรมชาติที่ได้รับมาจากหน้าต่างกระจกที่มักจะมีอยู่ใกล้ๆ กับบันไดนั้นเองค่ะ

ราวจับบันได

ราวจับหรือราวกันตกที่ดีควรสูงประมาณ 75-85 ซม. ควรมีขนาดพอดีมือให้ผู้ใช้งานสามารถจับได้ถนัดและมีสีที่แตกต่างจากผนังเพื่อการสังเกตที่ง่าย ใช้วัสดุที่ไม่ลื่น ที่สำคัญคือมีการติดตั้งที่มั่นคง แข็งแรง สามารถรองรับการคว้าจับได้โดยไม่หักพังในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ สะดุดหกล้มนั้นเองค่ะ การออกแบบบันไดที่ดีควรมีความ ลึก สูง มากเพียงพอให้ผู้ใช้งานสามารถก้าวเดินได้อย่างสะดวกสบาย คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน มีดีไซน์ที่สวยงามและเหมาะสมกับที่อยู่อาศัย และสุดท้ายกับไอเดียงานบันได ที่เป็นผลงานสร้างจริงของเรา บ้านดี รับสร้างบ้าน ที่งานบันไดของเราออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐาน เป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีคุณสมบัติทนทานดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดี และไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน และเลือกปูท้อปด้วยไม้จริงทั้งลูกตั้ง และลูกนอนให้งานบันไดของบ้านทุกหลังสวยงามมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และที่สำคัญต้องปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัยนั้นเองค่ะ

ให้ทุกขนาดของความฝันเกิดขึ้นได้ที่นี่ ที่บ้านดี รับสร้างบ้าน Facebook : BandeeArchitectSurin Youtube : บ้านดี รับสร้างบ้าน Tiktok : @bandeehome Instragram : bandeehome Line : @bdahome


bottom of page